วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559

นอร์เวย์ได้ชื่อ "ดินแดนอาทิตย์เที่ยงคืน" หรือ The Midnight Sun มาจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะโลกกลมและหมุนรอบแกนของตัวเอง พร้อมโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วย โดยจะเอียงแกนเอาขั้วโลกเหนือ-ใต้ สลับเข้าหาดวงอาทิตย์ชั่วระยะหนึ่งใช้เวลาเท่าๆ กันคือประมาณ 4-6 เดือน ระหว่างที่โลกหันเอาขั้วนั้นเข้าหาดวงอาทิตย์จะเป็นฤดูร้อน เมื่อโลกเอียงเอาขั้วโลกเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ ขั้วโลกเหนือจะได้รับแสงสว่างและความร้อนเต็มที่ สว่างอยู่เป็นเวลา 24 ชั่วโมงติดต่อกันเป็นเวลานับเดือน จะเห็นอาทิตย์โคจรเป็นทางโค้งอยู่เหนือขอบฟ้า ขึ้นสูงพ้นยอดไม้ และค่อยลดต่ำลงจนเกือบจดขอบฟ้า แต่จะไม่ลับขอบฟ้าไปเสียเลยทีเดียว ก่อนกลับสูงขึ้นไปอีกในตอนเที่ยงคืน ทำให้มีแสงสว่างสาดเป็นทาง ต้นไม้มีเงายาวทอดออกไปตามพื้นดิน คล้ายอาทิตย์ในยามเช้าหรือยามเย็น ขณะเดียวกัน ฝั่งตรงข้ามคือขั้วโลกใต้จะมืดมิด อากาศหนาวจัดตลอด 24 ชั่วโมงติดต่อนับเป็นเดือนเช่นกัน แต่เมื่อโลกเอียงเอาขั้วโลกใต้เข้าหาดวงอาทิตย์ ขั้วโลกใต้ก็จะสว่างเป็นเวลานาน และมีปรากฏการณ์เห็นดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงคืนเช่นกัน (เพียงแต่ว่าซีกโลกนั้นไม่มีมนุษย์อยู่อาศัยยืนยัน มีเพียงเพนกวินจักรพรรดิเท่านั้นที่เตาะแตะชมวิว) ยามขั้วโลกเหนือตกอยู่ในความมืด อากาศหนาวจัดตลอด 24 ชั่วโมงติดต่อนับเป็นเดือน ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์เที่ยงคืน ณ โลกเหนือ จะเกิดขึ้นในบริเวณที่อยู่เหนือเส้นอาร์ติกเซอร์เคิล หรือประมาณเส้นละติจูดที่ 66 องศาเหนือ ทำให้ผู้คนในประเทศที่อยู่เหนือเส้นละติจูดนี้มองเห็นดวงอาทิตย์ทั้งในเวลา กลางวันและกลางคืน สำหรับนอร์เวย์ สถานที่ที่ชมตะวันยามเที่ยงคืนได้เหมาะเจาะคือเมืองทรอมโซ่ ระหว่าง 16 พฤษภาคม-27 กรกฎาคม และเมืองสวาลบอร์ด ซึ่งเป็นหมู่เกาะกลางมหาสมุทรอาร์กติก ทางตอนเหนือของแผ่นดินใหญ่นอร์เวย์ขึ้นไปอีก 640 กิโลเมตร ระหว่าง 19 เมษายน-23 สิงหาคม นอกจากนอร์เวย์ ดินแดนที่อยู่เหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล ประกอบด้วย อะลาสกา แคนาดา กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ สวีเดน ฟินแลนด์ และดินแดนของรัสเซียอย่างบริเวณโนวาวา เซมล์ยา หรือมูร์มันสก์ ก็สามารถมองเห็นอาทิตย์เที่ยงคืนได้เหมือนกัน ทั้งนี้ดินแดนที่เคยมีบันทึกว่าเกิดปรากฏการณ์อาทิตย์เที่ยงคืนนานที่สุด คือทางปลายเหนือสุดของฟินแลนด์ ดวงอาทิตย์ไม่ตกดินนานถึง 73 วัน สำหรับการจัดเวลากลางวันกลางคืน ดวงอาทิตย์ไม่สร้างความสับสน เพราะว่าไปตามนาฬิกาเป็นปกติ

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Modernism
โมเดิร์น อาร์ต ศิลปะสมัยใหม่
Modern Art

คริสต์ทศวรรษ 1860-1970
โดยทั่วไปคำว่า โมเดิร์น (Modern คือคำวิเศษณ์ ตรงกับคำว่า “สมัยใหม่” ในภาษาไทย) หมายถึง ความใหม่ ความร่วมยุคร่วมสมัย ศิลปะล้วนแล้วแต่ “ใหม่ (modern)” สำหรับผู้สร้างมัน ถึงแม้ว่าจะเป็น ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา (Renaissance, เรอเนอซองส์) ในฟลอเรนซ์ หรือในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในนิวยอร์ค หรือศิลปะที่เขียนขึ้นในวันนี้ ในรูปแบบของศิลปะคริสต์ศตวรรษที่ 15 ก็ยัง “ใหม่ (modern)” ในความหมายนี้

หรืออีกนัย หนึ่ง ในความหมายแบบกำปั้นทุบดินสมัยใหม่ก็คือ สิ่งที่ไม่เก่า สิ่งที่ตรงกันข้ามกับ “เก่า” หรือ “ประเพณี” ดังเช่น ความสมัยใหม่ในบริบทของสังคมไทย ภาพเขียนของ ขรัวอินโข่ง หรือของ สมเด็จฯกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ จึงสมัยใหม่สำหรับสังคมไทยในสมัยนั้นๆ เรา(คน ไทย) มักจะนึก “ความเป็นฝรั่ง” พร้อมๆกับคำว่าสมัยใหม่ แต่ในความหมายเชิงประวัติศาสตร์ คำว่า “โมเดิร์น” ในศิลปะตะวันตกหมายถึงยุคสมัยจำเพาะในทางประวัติศาสตร์ ระหว่างประมาณคริสต์ทศวรรษ 1860-1970 ในความหมายนี้สมัยใหม่ถูกใช้อธิบายรูปแบบและอุดมคติหรืออุดมการณ์ในการสร้าง สรรค์ในยุคนั้นๆ

ลักษณะสำคัญของ “ศิลปะสมัยใหม่” (Modern Art) และ “ลัทธิสมัยใหม่” (Modernism, โมเดิร์นนิสม์) คือ ทัศนคติใหม่ๆที่มีต่ออดีตและอนาคต ซึ่งเป็นไปแบบสุดขั้ว โดยเริ่มต้นมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่ถือกันว่าเป็นยุคปฏิวัติของยุโรป ศิลปินเริ่มที่จะให้การยอมรับการเขียนภาพ “เหตุการณ์ปัจจุบัน-ร่วมสมัย” ในยุคของตนว่า สามารถมีคุณค่าทางศิลปะได้เท่าเทียมกับภาพเขียนเรื่องราวในอดีตตั้งแต่ยุค โบราณ หรือยุคประวัติศาสตร์จากคัมภีร์ไบเบิล

การเปลี่ยนแปลง ทางการเมืองขนานใหญ่ทั่วยุโรปใน ปี 1848 ประกอบกับการอ่อนแรงของศิลปะแบบทางการ หรือ ศิลปะตามหลักวิชา (academic art) ทำให้กระแสศิลปะลัทธิสมัยใหม่ยิ่งเติบโต

จิตรกรแนว นีโอ-คลาสสิสม์ (Neo-Classicism) อย่าง ฌาค หลุยส์ ดาวิด (Jacques Louis David) เขียนภาพเหตุการณ์การปฏิวัติฝรั่งเศส จิตรกรแนว โรแมนติสิสม์ (Romanticism) อย่าง ฟรานซิสโก เดอ โกย่า (Francisco de Goya) เขียนภาพเหตุการณ์ตอนที่นโปเลียนจากฝรั่งเศสรุกรานสเปน เรื่องราวที่จิตรกรทั้งสองเขียนในภาพของพวกเขา ได้ช่วยแผ้วถางทางของศิลปะในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดังที่เห็นได้จากงานศิลปะที่ปฏิเสธการเขียนภาพเกี่ยวกับอดีต ของศิลปิน เรียลลิสม์ (Realism, สัจนิยม) อย่างเช่น กุสตาฟ กูร์เบต์ (Gustave Courbet) และ เอดัวร์ มาเนต์ (Edouard Manet)

ใน จุดเริ่มต้นของศิลปินสมัยใหม่ พวก อิมเพรสชันนิสต์ (Impressionist, Impressionism) และ โพสต์-อิมเพรสชันนิสต์ (Post-Impressionist, Post-Impressionism) จะทำการปฏิเสธทั้งการเขียนภาพเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และยังไม่สนใจขนบของการสร้างภาพลวงตา (เขียนให้เหมือนจริงมาก) ซึ่งพัฒนามาตั้งแต่ ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา

“ความใหม่” คือสิ่งที่ศิลปินสมัยใหม่ให้ความสำคัญ ทัศนคติแบบนี้จะปรากฏให้เห็นในแนวคิดเกี่ยวกับ “อาวองท์-การ์ด” (avant-garde, หัวก้าวหน้า) คำนี้เป็นศัพท์ทางการทหาร หมายถึง ทหารแนวหน้า (advance guard) ศิลปินอาวองท์-การ์ด หรือศิลปินหัวก้าวหน้า ได้กลายเป็นพวกที่ล้ำยุคล้ำสมัยของสังคม (ก้าวเร็วแซงหน้าจนชาวบ้านตามไม่ทัน) ถึงแม้ว่าความก้าวหน้ามากๆแบบนี้จะได้รับการยอมรับโดยทั่วไป แต่การที่ศิลปินอิสระจนหลุดพ้นไปจากกรอบของยุคสมัย บางทีก็ถูกปฏิเสธจากนักประวัติศาสตร์ศิลป์อยู่เหมือนกัน

บทบาทของผู้ อุปถัมภ์ศิลปะในอดีตอย่าง ศาสนจักร รัฐ และขุนนาง ที่ลดลงไปอย่างมาก ได้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ ลัทธิสมัยใหม่ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เพราะศิลปินสมัยใหม่จะมีอิสระเสรีที่จะคิดและทำศิลปะที่แตกต่างไปจากอดีต ซึ่งต้องทำตามความชอบของผู้ว่าจ้าง

นอกจากนี้ การค้าขายศิลปะตามระบบทุนนิยม ก็ยังเป็นตัวกระตุ้นให้ศิลปินทำการทดลองอะไรที่แปลกใหม่ คำว่า “ศิลปะเพื่อศิลปะ” ที่เริ่มแพร่หลายในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็ยิ่งกระจายออกไปอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำๆนี้สามารถใช้อธิบายศิลปะที่เกิดจากความคิดส่วนตัวของศิลปิน ที่มีความเป็นปัจเจกสูงเสียจนไม่ต้องการการอ้างอิงไปถึงประเด็นทางสังคมและ ศาสนา

การเติบโตของ ศิลปะสมัยใหม่ เป็นส่วนหนึ่งของการที่สังคมตะวันตกได้เปลี่ยนผ่านไปสู่ “ความเป็นอุตสาหกรรม”, “ความเป็นเมืองใหญ่แบบมหานคร” และการเป็นสังคมแบบวัตถุนิยมอย่างเต็มที่ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปินสมัยใหม่ได้ท้าทายรสนิยมของชนชั้นกลาง โดยหาเรื่องและประเด็นใหม่ๆ รูปแบบใหม่ๆ ที่ดูแปลกประหลาดไปจากระเบียบแบบแผนดั้งเดิม

ศิลปะสมัยใหม่ มักจะมีแนวเนื้อหาเกี่ยวกับ การเฉลิมฉลองเทคโนโลยี การค้นหาจิตวิญญาณ และ การกระตุ้นด้วยความป่าเถื่อน (จากความสนใจในศิลปะของคนป่า (Primitivism)) ศิลปินได้แสดงออกแนวเนื้อหาเหล่านั้นออกมาในรูปแบบที่แตกต่างหลากหลาย

แนวเนื้อหาของ การเฉลิมฉลองเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ได้ปรากฏออกมาในรูปของการชื่นชม “ความเร็ว” ดังที่เห็นได้จากศิลปะในลัทธิ ฟิวเจอร์ริสม์ (Futurism) การใช้แนวคิดในเชิงวิทยาศาสตร์ปรากฏให้เห็นในงานของพวก คอนสตรัคติวิสม์ (Constructivism ในสหภาพโซเวียต)

การค้นหาจิตวิ ญญานจะมีอยู่ในงานของพวก ซิมโบลลิสม์ (Symbolism ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา) เดอ สตีล หรือ เดอะ สไตล์ (De Stijl/The Style ในเนเธอร์แลนด์) นาบิส (Nabis ในฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษ 1890) และ แดร์ บลาว ไรเตอร์ หรือ เดอะ บลู ไรเดอร์ (Der Blaue Reiter/The Blue Rider ในเมืองมิวนิค เยอรมนี) งานประเภทนี้ถือว่าเป็นปฏิกริยาโต้ตอบกับวัตถุนิยมในยุคสมัยใหม่
ความ สนใจในความเถื่อนของศิลปะจากคนป่าและชาวเกาะ (อัฟริกันและชาวเกาะ หรือ โอเชียนนิค Oceanic)จะปรากฏชัดในงานของ โพสต์-อิมเพรสชันนิสม์ คิวบิสม์ (Cubism)และ เยอรมัน เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ (German Expressionism ในเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ 20)ความสนใจในสิ่งเหล่านี้เป็นตัวสะท้อนให้เห็นผลของลัทธิ “จักรวรรดินิยม” (Imperialism) ที่นิยมล่าอาณานิคม และอ้างว่าตน (ตะวันตก) “ค้นพบ” วัฒนธรรมของดินแดนอันไกลโพ้นเหล่านั้น

อ้างอิงจาก
http://www.designer.in.th/artistic-movement/modern-art.html?doing_wp_cron

ระบบ ศักดินา

ระบบ ศักดินา
Hewison ใน Bankers and Bureaucrats พูดถึงสังคมศักดินาว่า เป็นระบบที่ครอบงำอยู่ระบบเหนือการผลิตแบบดั้งเดิมของไทย ที่ส่วนใหญ่แล้วเป็นการผลิตแบบยังชีพ วิถีการผลิตประกอบไปด้วยที่ดินและแรงงาน ที่ดินสามารถครอบครองได้แม้มีกฎหมายว่ากษัตริย์มีสิทธิ์เหนือที่ดินใน อาณาจักร แต่ประชาชนก็สามารถตั้งภูมิลำเนาได้ เจ้านายเป็นเจ้าของที่ดิน ส่วนชาวนาทำนาในที่ดินนั้นและเป็นเจ้าของที่ดินได้ แต่แรงงานกลับไม่ได้เป็นของชาวนา (34)

ระบบ ศักดินาขึ้นอยู่กับ 2 ชนชั้นคือ คนธรรมดา (ไพร่กับทาส) และชนชั้นปกครอง (นาย) คนธรรมดาจะผูกพันกับนายด้วยกฎหมายและต้องให้แรงงานกับนายเป็นระยะเวลา 3-6 เดือนต่อปี ในกิจการงานต่าง ๆ ที่นายสั่ง หรืออาจจะไม่ไปอยู่กับนายแต่จ่ายเป็นภาษีแทน ด้วยระบบนี้ทำให้นายสามารถเก็บผลผลิตส่วนเกินจากชาวนาได้ สิทธิของนายอยู่ในกฎหมาย คนธรรมดาไม่มีช่องทางใช้กฎหมายได้เว้นแต่ผ่านโดยนาย จึงทำให้เป็นการย้ำเตือนความสัมพันธ์แบบ Patron-Client (34)

ส่วน เกินของระบบศักดินาจึงถูกดึงโดยพวกนายเป็นส่วนมาก การค้าเป็นกิจกรรมที่สำคัญของรัฐ ซึ่งรัฐได้ทำกิจกรรมการค้าเรือสำเภาอย่างเป็นล่ำเป็นสันกับพ่อค้าชาวจีน ความสัมพันธ์ต่างตอบแทนนี้ทำให้พ่อค้าชาวจีนบางส่วนเข้ามาได้ตำแหน่งอยู่ใน ระบบศักดินา (35)

......

การ วิเคราะห์ดังกล่าวของ Hewison เป็นความคิดที่ถูกครอบงำด้วยแนวคิด Marxist คือ เน้นอธิบายแต่ความหมายในเชิงเศรษฐกิจ โดยเน้นว่าบ่าวเป็น "แรงงาน" ในความหมายของที่เป็นปัจจัยการผลิตแบบหนึ่ง (ทุน แรงงาน ที่ดิน การประกอบการ) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ที่ไม่รอบด้าน หากเปรียบเทียบกับการวิเคราะห์ของ Englehart ที่เริ่มต้นว่า "ความเชื่อของคนไทยอยู่บนพื้นฐานของความไม่เท่าเทียม" แล้วความไม่เท่าทียมนั่นแหล่ะที่ทำให้เกิดการยอมรับในระบบศักดินา ที่เป็นผลของ "การเจรจาต่อรอง" ที่สลับซับซ้อน อิงอยู่บนพื้นฐานทางวัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งที่ Marxist ไม่สนใจจะมอง เพราะเห็นมันเป็นเพียงแค่ fault consciousness....หรือเป็น superstructure แบบนึงเท่านั้น

ศักดินาไม่ใช่ ระบบควบคุมที่ดิน แต่เป็นระบบควบคุมแรงงาน ที่เป็นระบบที่นายกับบ่าวเจรจาต่อรองกัน และบ่าวคนเดียวไม่ต้องอยู่กับนายไปตลอดกาลเพราะมันไม่ใช่ระบบทาสติดที่ดิน นายไม่ดีบ่าวก็หนี และถ้าบ่าวหนีมาก ๆ อำนาจของนายก็หมดลง นายต้องการบ่าวจึงเป็นนาย บ่าวต้องการนายจึงเป็นบ่าว ศักดินามันจึงไม่ใช่ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเป็นหลักแบบที่ Hewison บอก

Hewinson และอีกหลาย ๆ คน จึงเป็นตัวอย่างของนักวิชาการที่ใช้ภาพ Marxist มามองสังคมไทย... แล้วก็เห็นผิดพลาดไปอย่างน่าเสียดาย

กวันที่ ๒๓ ตุลาคม นิสิตจุฬาฯ จะถูกเกณฑ์ไปกราบรูปปั้นรัชกาลที่๕ เหมือนกับว่ากราบไหว้เทวดา

แต่ การกราบไหว้รูปปั้นของคนในรูปแบบนี้ โดยไม่สนใจที่จะวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของผลงานอันยิ่งใหญ่ของรัชกาลที่๕ เป็นการสอนให้นักศึกษาเป็นคนปัญญาอ่อน ไม่ใช่สอนให้คิดเองเป็น เพื่อสร้างมาตรฐานวิชาการ

อำมาตย์ชอบเสนอว่า สถาบันกษัตริย์ไทยปัจจุบันเป็นสถาบันเก่าแก่ตั้งแต่สุโขทัย ที่อยู่เคียงข้างสังคมในรูปแบบ “ศักดินา-สมบูรณาญาสิทธิราชย์” คือมองว่าศักดินาไม่ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นเอง

ฝ่าย อำมาตย์มีการรณรงค์ผ่านโรงเรียน และสื่อให้เราเชื่อว่า กษัตริย์มีอำนาจเหนือชีวิตของเหล่าไพร่ทั้งหลาย เหมือนกับว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจากสมัยอยุธยาเลย

มันเป็นความ พยายามเพื่อสร้างภาพเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ให้ประชาชนเชื่อว่า ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการจงรักภักดีต่อ และเกรงกลัวผู้ปกครองที่เป็นเสมือนพระเจ้าหรือเทวดา

ส่วนฝ่ายซ้าย เก่า เช่น พ.ค.ท. หรือนักวิชาการที่ได้รับอิทธิพลจาก พ.ค.ท. มักมองว่าไทยยังเป็น “กึ่งศักดินา” จนถึงทุกวันนี้ หลายคนมองต่อไปว่าความขัดแย้งระหว่างเสื้อเหลืองกับแดง เป็นการต่อสู้ระหว่างศักดินากับนายทุนสมัยใหม่ ผมว่าการวิเคราะห์แบบนี้ผิด และไม่มีข้อมูลทางประวัติศาสตร์รองรับเลย

ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์เราจะพบว่า ในรอบ 200 ปีที่ผ่านมาสถาบันกษัตริย์ไทยเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยอย่างต่อเนื่อง จากสถาบันในระบบศักดินา ไปเป็นกษัตริย์ที่มีอำนาจรวมศูนย์แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในช่วงรัชกาลที่ ๕

และในการปฏิวัติปี ๒๔๗๕ เปลี่ยนอีกครั้งเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ หลังจากนั้นสถานภาพของสถาบันก็เปลี่ยนแปลงต่อไป

งาน เขียนของนักประวัติศาสตร์อย่าง ธงชัย วินิจจะกูล และ ทักษ์ เฉลิมเตียรณ มีประโยชน์ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้อย่างดี นอกจากนี้ข้อมูลในหนังสือของ Paul Handley ก็ช่วยวาดภาพประวัติศาสตร์ช่วงดังกล่าวอีกด้วย

อย่างไรก็ตามนัก วิชาการส่วนใหญ่มองข้ามแง่มุมของสถาบันกษัตริย์ไทย ที่เป็นสถาบันสมัยใหม่ในระบบทุนนิยมซึ่งมีบทบาทหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ทางการ เมือง และเป็นลัทธิความคิด ที่ให้ความชอบธรรมกับทหารผู้มีอำนาจจริงในการครอบงำสังคม

ลักษณะสำคัญของระบบศักดินา

หลาย คนเข้าใจผิดว่าการปกครองในยุคศักดินาเป็นการปกครองที่มีพระเจ้าแผ่นดินที่มี อำนาจเข้มแข็ง แต่ที่จริงแล้วระบบศักดินามีองค์ประกอบสามอย่างที่ทำให้พระเจ้าแผ่นดินมี อำนาจจำกัดคือ

(๑) ระบบการปกครองแบบศักดินาไม่มีข้าราชการ ระบบข้าราชการไทยตั้งขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๕ ฉนั้นพระเจ้าแผ่นดินในยุคศักดินาต้องแบ่งอำนาจในการปกครองกับ ขุนนาง มูลนาย และเจ้าหัวเมือง

(๒) การที่ระบบการผลิตอาศัยการเกณฑ์กำลังงานแรงงานบังคับโดยมูลนายและขุนนาง มีส่วนทำให้พระเจ้าแผ่นดินต้องแบ่งอำนาจทางเศรษฐกิจการผลิตให้กับมูลนายและขุนนางอีกด้วย

(๓) อำนาจของ “เมืองหลวง” เช่นอยุธยา หรือ กรุงเทพฯ ในระบบศักดินา จะลดลงในสัดส่วนที่เท่ากับความห่างจากตัวเมือง เพราะเมืองห่างๆ ไม่จำเป็นต้องกลัวการส่งกองกำลังมาปราบปรามเท่ากับเมืองที่อยู่ใกล้ศูนย์ กลาง นอกจากนี้ “หัวเมือง” อาจเป็น “หัวเมือง” ของเมืองอำนาจศูนย์กลางอื่นๆ หลายเมืองพร้อมๆกัน ระบบการแผ่อำนาจแบบวงกลมซ้อนๆนี้ เรียกว่าเป็นระบบ Mandala หรือ Galactic Polity – คือระบบดวงดาวที่หมุนรอบดวงอาทิตย์ มันเป็นระบบที่ไม่มีแผนที่ ไม่มีพรมแดน เพราะเน้นควบคุมคนและชุมชนเป็นหลัก

การผลิตในระบบศักดินาใช้แรงงานบังคับ ไม่ใช่แรงงานรับจ้าง มีทาสและไพร่ ทาสในระบบศักดินาคือผู้ที่ติดหนี้สินกับมูลนาย ผู้ที่ต้องการความคุ้มครองจากมูลนาย หรือเชลยศึก เขาจะต้องทำงานอยู่กับเจ้านายตลอด ส่วนไพร่นั้นคือผู้ที่เป็นชาวนากึ่งอิสระที่ต้องถูกเกณฑ์ไปใช้งานเป็นประจำ โดย ขุนนาง มูลนาย พระเจ้าแผ่นดิน หรือ วัด

ปฏิวัติทุนนิยมล้มศักดินานำโดยรัชกาลที่๕

หลัง จากที่รัฐบาลกรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เซ็นสัญญาการค้าเสรีกับอังกฤษที่เรียกว่า “สัญญาเบาริ่ง” ในปีพ.ศ. ๒๓๙๘ ระบบทุนนิยมโลกเริ่มที่จะมีอิทธิพลเหนือเศรษฐกิจไทยมากขึ้นทุกที ระบบการค้าเสรีและการล่าอาณานิคมของมหาอำนาจทุนนิยมตะวันตก สร้างทั้งปัญหาและโอกาสกับกษัตริย์ศักดินา และนำไปสู่การปฏิวัติล้มระบบศักดินาโดยรัชกาลที่ ๕

การยกเลิกระบบการเกณฑ์แรงงานบังคับ และการใช้ระบบการปกครองของข้าราชการจากศูนย์กลาง เป็นการทำลายอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองของมูลนาย ขุนนาง และ เจ้าหัวเมือง ซึ่งเป็นคู่แข่งของกษัตริย์ โดยที่อำนาจรัฐและอำนาจเศรษฐกิจไปกระจุกอยู่ที่พระเจ้าแผ่นดินภายใต้ระบบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นครั้งแรก

นอก จากนี้การเลิกทาสหรือไพร่ และการหันมาใช้แรงงานรับจ้าง ไม่ใช่เพราะความเมตตาของใครแต่อย่างใด มันเป็นเรื่องการใช้แรงงานในลักษณะที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในระบบทุนนิยมต่าง หาก

การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยดังกล่าวต้องถือว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับการปฏิวัติสังคมที่นำไปสู่ระบบทุนนิยมในประเทศไทย และรัฐใหม่ที่รัชกาลที่ ๕ สร้างขึ้นเป็นรัฐทุนนิยม เพื่อประโยชน์นายทุนกษัตริย์ และเพื่อสร้างรัฐชาติไทยขึ้นมาเป็นครั้งแรกในยุคที่กรุงเทพฯ ต้องเผชิญหน้ากับการสร้างรัฐชาติพม่า มาเลย์ และอินโดจีน ภายใต้จักรวรรดินิยมตะวันตก ยิ่งกว่านั้นการเลิกทาสเลิกไพร่ และการนำระบบเศรษฐกิจการค้าเสรีเข้ามา เปิดโอกาสให้กษัตริย์ไทยสมัยนั้นสามารถสะสมกำไรมหาศาลจากการเป็นนายทุน ที่ดิน นายทุนเกษตร และนายทุนธนาคาร ซึ่งมีการถ่ายทอดมรดกจนถึงปัจจุบัน

ลักษณะสำคัญของระบบทุนนิยมคือ มีการลงทุนเพื่อการผลิต และมีการสะสมทุนเพิ่มจากกำไรในการผลิต กระบวนการนี้อาศัยการที่นายทุนเริ่มควบคุมปัจจัยการผลิต เช่นที่ดิน บริษัท หรือโรงงาน ในขณะที่คนธรรมดาต้องไปรับจ้างหรือเช่าที่ดินจากนายทุน

การ ลงทุนเพื่อการเกษตรแถวๆ รังสิตในสมัยรัชกาลที่๕ กระทำไปโดยเปิดโอกาสให้เกษตรกรรายย่อยมาเช่าที่ดิน เพื่อขยายการผลิตข้าว โดยเป้าหมายคือการส่งออกในตลาดทุนนิยมโลก มันเป็นระบบรับเหมาทำนา โดยที่นายทุนผู้ครองที่ดินได้ประโยชน์ ดังนั้นนายทุนในระบบทุนนิยมมีหลายรูปแบบ คือเป็นกษัตริย์ ทหาร หรือนักธุรกิจเอกชนก็ได้ ขอให้มีอำนาจคุมปัจจัยการผลิตและความสามารถในการสะสมทุนเท่านั้นก็พอ

รัฐทุนนิยมในรูปแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่รัชกาลที่๕ สร้างขึ้น ถูกปฏิวัติล้มไปในปี ๒๔๗๕ และอำนาจรัฐถูกค่อยๆ ขยายไปสู่ส่วนอื่นของชนชั้นนายทุนที่ไม่ใช่กษัตริย์และราชวงศ์ เช่นข้าราชการพลเรือน ทหาร และนายทุนเอกชน ซึ่งการขยายชนชั้นปกครองไปสู่กลุ่มอำมาตย์แบบนี้ ยังมีอิทธิพลต่อการเมืองปัจจุบัน

Postmodernism

Postmodernism เป็นถ้อยคำและกรอบความคิดที่ซับซ้อน เกิดขึ้นในแวดวงวิชาการตั้งแต่กลางปี ๑๙๘๐ Postmodernism มีคำจำกัดความที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะมันเป็นแนวคิดหนึ่งที่ปรากฏในความหลากหลายของกฏเกณฑ์หรือแขนงวิชาการต่างๆ รวมถึงศิลปะ สถาปัตยกรรม ดนตรี ภาพยนตร์ วรรณคดี สังคมวิทยา สื่อสารมวลชน แฟชั่น และเท็คโนโลยี และยากที่จะระบุช่วงเวลาและประวัติศาสตร์ของมัน เพราะไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามันเกิดขึ้นมาเมื่อใด

อาจเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการการเริ่มคิดถึง -postmodernism ก็โดยการคิดถึงสิ่งที่เกี่ยวกับความทันสมัย-modernism ความเปลี่ยนแปลงเกิดจากการเริ่มและขยายความจากความทันสมัย -Modernism มีสองประเด็นหลัก หรือสองแนวทางในคำจำกัดความ ทั้งสองนี้เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในแนวคิด -postmodernism.

ประเด็นแรกหรือคำจำกัดความแรกของ -modernism นั้นมาจากการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเรื่องสุนทรียศาสตร์ในตราประทับของ "modernism." การเคลื่อนไหวนี้นำไปสูจุดหมายปลายทางของแนวคิดศิลปะตะวันตกของศตวรรษที่ ๒๐ (แม้ว่าร่องรอยจะเริ่มปรากฏในช่วงของศตวรรษที่ ๑๙ ก็ตาม) Modernism นั้น อย่างที่ทราบกัน เป็นการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงของแขนงวิชา ทัศนศิลป์ ดนตรี วรรณคดี และการละคอน ซึ่งต่อต้านแนวคิดแบบ Victorian ศิลปะเดิมที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ในช่วง "high modernism," ระหว่างปี 1910 ถึง 1930 งานวรรณกรรมในแบบฉบับของ modernism ช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงและทบทวน การเขียนโคลงกลอนและนิยายกันใหม่ เช่นผลงานของ Woolf, Joyce, Eliot, Pound, Stevens, Proust, Mallarme, Kafka, และ Rilke ท่านเหล่านี้ถูกจัดเป็นผู้ริเริ่มของวรรณกรรม -modernism แห่งศตวรรษที่ ๒๐.

จากมุมมองทางด้านวรรณกรรม ลักษณะสำคัญของ modernism ประกอบด้วย:

1. เน้นเรื่องความรู้สึกล้วนๆ-impressionism และการเขียนในเชิงนามธรรม (เช่นเดียวกันงานทัศนศิลป์) การเน้นที่เห็น "อย่างไร" (หรือการอ่านหรือการรับรู้ด้วยตัวมันเอง) มากกว่า "อะไร" ที่มองเห็น ตัวอย่างนี้คือ งานเขียนที่เต็มไปด้วยกระแสของจิตที่มีสำนึก (stream-of-consciousness writing)

2. ความเปลี่ยนแปลงอันหนึ่ง คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากความรอบรู้ในการบรรยายของบุคคลที่สาม มุมมองที่เฉพาะเจาะจง และเงื่อนไขทางศีลธรรมที่ชัดเจน เช่น เรื่องราวการบรรยายของ Faulkner เป็นตัวอย่างหนึ่งของแนวเขียนแบบ modernism.

3. ความกำกวมของความแตกต่างระหว่างเรื่องราวที่เคยสามารถอ่านได้จากภาพ กับบทกลอน ที่เพิ่มความเป็นสารคดี (เช่นงานเขียนของ T.S. Eliot ) และบทรอยแก้ว ที่ค่อนไปทางโคลงกลอนมากขึ้น (เช่นงานเขียนของ Woolf หรือ Joyce)

4. เน้นรูปแบบที่แยกออกเป็นส่วนๆ การบรรยายเรื่องราวที่ไม่ต่อเนื่องและการสุมรวมปะติดปะต่อของสิ่งที่แตกต่างกัน

5. โอนเอียงในทำนองการสะท้อนกลับ หรือรู้สำนึกได้ด้วยตัวเอง ที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะ เพื่อที่งานแต่ละชิ้นจะได้เรียกร้องความสนใจเฉพาะตามสถานะของการรังสรรค์ในวิธีการที่เป็นพิเศษ

6. รูปแบบทางสุนทรีย์เน้นที่ความน้อยสุด (minimalist designs ..เช่นในงานประพันธ์ของ William Carlos Williams) ส่วนใหญ่ปฏิเสธทฤษฎีสุนทรีย์ศาสตร์ที่เคร่งครัดแบบเดิม สนับสนุนการสร้างสรรค์ที่เกิดจากการค้นพบด้วยตนเองตามธรรมชาติ

7. ปฏิเสธการแยกเป็นสองขั้ว เช่น สูง และ ต่ำ หรือวัฒนธรรมยอดนิยมเดิมๆ ในการเลือกใช้วัสดุในการผลิตงานศิลปะ และวิธีการนำเสนอ การเผยแพร่ และการบริโภคของงานศิลปะ

Postmodernism มีความคล้ายคลึงกันกับ modernism ตามความคิดที่เหมือนกันเหล่านี้คือ ปฏิเสธเส้นแบ่งระหว่างความสูง-ต่ำในรูปแบบของศิลปะ ปฏิเสธความแตกต่างในความเป็นศิลปวัตถุที่เคร่งครัด เน้นการหลอมรวมกับสิ่งที่คุ้นเคย กำมะลอ การแดกดัน และความขบขัน ในแง่ศิลปะ (และความคิด) ของ Postmodern มักไหลย้อนกลับและมีสำนึกของตนเอง เปราะบางและไม่ต่อเนื่อง (โดยเฉพาะโครงสร้างการบรรยายความ) ขัดแย้ง ในเวลาเดียวกัน และการเน้นรื้อเปลี่ยนโครงสร้าง ย้ายความเป็นศูนย์กลาง ตัดสิทธิ์ความเป็นประธาน

แต่..แม้ในความเป็น -postmodernism ดูเหมือนจะคล้ายกับ -modernism ในหลายเรื่อง ความแตกต่างกันอยู่ที่ทัศนะคติในเรื่องนั้นๆ ดังเช่น Modernism โน้มเอียงไปที่ความเปราะบางในแง่ที่เกี่ยวกับจิตใจของมนุษย์และประวัติศาสตร์ (เช่นความคิดในงานประพันธ์เรื่อง The Wasteland ของ Woolf's To the Lighthouse) โดยเสนอว่า ความเปราะบางนั้นเป็นบางสิ่งที่เลวร้าย บางสิ่งที่เป็นความโทมนัสและเศร้าโศรกในความสูญเสีย งานของนักทันสมัย พยายามหยิบยกความคิดของงานศิลปะที่สนองความเป็นเอกภาพ ยึดเหนี่ยว และให้ความหมายในสิ่งที่สูญหายไปในชีวิตสมัยใหม่ ศิลปะจะสนองตอบในสิ่งที่สูญหายในสถาบันของความเป็นมนุษย์ Postmodernism ในทางกลับกัน ไม่เน้นความเปราะบางของโทมนัส สร้างทดแทน หรือไม่เกาะยึดไว้ แต่ค่อนไปทางเฉลิมฉลอง กระทำดังเช่นราวกับว่าโลกไร้ความหมาย? ไม่แสร้งทำให้ดูเหมือนว่าศิลปะสามารถให้ความหมายได้ กลับปล่อยให้เป็นเรื่องเล่นๆที่ไร้สาระ

อีกแง่ในการมองความสัมพันธ์ระหว่าง modernism และ postmodernism คือการช่วยให้เกิดความกระจ่างในความแตกต่างบางอย่าง ในทัศนะของ Frederic Jameson, modernism และ postmodernism เป็นการก่อรูปทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับลัทธิความเป็นทุนนิยม Jameson อ้างสาระสำคัญของวลีสามอย่างของลัทธิทุนนิยม ที่กำหนดความประพฤติทางวัฒนธรรม (รวมศิลปะและวรรณกรรม) เป็นพิเศษคือ สาระแรก เกี่ยวกับตลาดทุนนิยม ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๘ จนถึงตลอดศตวรรษที่ ๑๙ ในยุโรปตะวันตก อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา (และปริมณฑลโดยรอบ) ในสาระแรกนี้รวมเอาการพัฒนาทางวิทยาการต่างๆ เช่น เครื่องจักร์ไอน้ำ และลักษณะของสุนทรีย์ศาสตร์พิเศษ ที่เรียกว่า ความจริงแท้ -realism. สาระที่สองเกิดต่อจากศตวรรษที่ ๑๙ จนถึงศตวรรษที่ ๒๐ (ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง) ในสาระนี้ การถือเอกสิทธิ์ของระบบทุนนิยม ด้วยการรวมตัวกันของเครื่องไฟฟ้าและพลังงานและกับความทันสมัย -modernism ในสาระที่สาม วลีของเขาคือว่า เราเดี๋ยวนี้คือนักบริโภคนานาชาติของระบบทุนนิยม (ที่เน้น การตลาด การขาย การบริโภคแบบรวมซื้อเพื่อขายต่อ ไม่ใช่เพื่อการผลิตก่อนแล้วขาย) รวมกันกับวิทยาการด้านนิวเคลียร์และไฟฟ้า และบรรณสานสัมพันธ์กันเป็น postmodernism ในเวลาเดียวกัน

ดังที่ Jameson บ่งชี้ลักษณะของ postmodernism ในแง่กรรมวิธีของการผลิตและเท็คโนโลยี ปัญหาของคำจำกัดความที่สองของ postmodernism ที่มีมาจากประวัติศาสตร์และสังคม มากกว่าวรรณกรรมหรือประวัติศาสตร์ศิลปะ แนวคิดนี้กำหนด postmodernism ในนามของการเข้าไปก่อรูปของสังคมทั้งหมด กำหนดทัศนะคติของสังคม/ประวัติศาสตร์ ที่ชัดเจน คือแนวคิดนี้ขัดแย้งกันในเชิง ระหว่าง "postmodernity" กับ "modernity" แทนที่จะเป็นระหว่าง "postmodernism" กับ "modernism."

อะไรคือความแตกต่าง? "Modernism" โดยทั่วไปอ้างถึงความเปลี่ยนแปลงทางสุนทรีย์ศาสตร์กว้างๆในศตวรรษที่ ๒๐ ขณะที่ "modernity" อ้างถึงรากฐานทางปรัชญา การเมือง และความคิดด้านจิรยะธรรม ซึ่งถือเป็นรากฐานของความคิดทางสุนทรีย์พื้นฐานของ modernism. "Modernity" มีความเก่าแก่กว่า "modernism" ในการอ้างถึงชื่อ "modern" ประการแรกกำหนดในสังคมวิทยาสมัยศตวรรษที่ ๑๙ หมายถึงความแตกต่างของยุคสมัยปัจจุบันกับยุคสมัยก่อนที่ผ่านมา ซึ่งให้ชื่อว่า "โบราณ-antiquity" นักวิชาการทั้งหลายมักโต้แย้งเมื่อยุค "modern" ที่แน่นอนเริ่มต้น และทำอย่างให้เกิดความแตกต่างระหว่างอะไรที่ทันสมัย และไม่ทันสมัย มันเลยดูเหมือนว่ายุคทันสมัยเริ่มต้นก่อนหน้า ที่นักประวัติศาสตร์จะมองเห็น แต่โดยทั่วไปแล้วยุคของ "modern" จะหมายรวมกันกับยุคพุทธิปัญญาของยุโรป -the European Enlightenment ซึ่งเริ่มคร่าวๆในกลางศตวรรษที่ ๑๘ (นักประวัติศาสตร์บางคนย้อนรอยของพุทธิปัญญานี้กลับไปในสมัยเรเนอร์ซองค์ -Renaissance หรือก่อนหน้านั้นเสียอีก และบางคนอาจเถียงว่าความคิดของสมัยพุทธปัญญานี้เริ่มต้นในศตวรรษที่ ๑๘ แต่สำหรับข้าพเจ้า (ผู้เขียนบทความนี้) มักกำหนดวันที่ของ "modern" จากปีค.ศ.1750 เพียงเพราะข้าพเจ้าจบการศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิต จากโปรแกรมของมหาวิทยาลัย Stanford ที่ชื่อว่า "Modern Thought and Literature," โปรแกรมนี้เน้นที่งานวรรณกรรมหลังปีค.ศ. 1750).

รากฐานความคิดของพุทธิปัญญา -the Enlightenment โดยคร่าวๆ เป็นเช่นเดียวกับรากฐานความคิดของมนุษย์นิยม -humanism บทความของ Jane Flax ให้ข้อสรุปรากฐานของความคิดเหล่านี้ ถือเป็นหลักฐาน (หน้า 41) โดยข้าพเจ้าจะเพิ่มเติมสองสามอย่างในรายการของเธอ

1. มีเสถียรภาพ ติดต่อกันเป็นเรื่องราว รู้ได้ด้วยตนเอง รู้ได้ในจิตสำนึกของตนเอง มีเหตุ-ผล เป็นอิสระ และครอบคลุมกว้างขวาง ไม่เพียงแค่เงื่อนไขทางกายภาพ หรือไม่มีผลกระทบความแตกต่างในเนื้อหาใจความ ที่ตนเองรับรู้ได้

2. การรู้โดยตนเอง และรู้โลกผ่านเหตุผล มีสติ ในสภาพของจิตใจที่ให้ประโยชน์สูงสุดตามภววิสัย

3. วิธีการรู้ เกิดจากวัตถุประสงค์ของความมีเหตุ-ผลแห่งตนที่เรียก "วิทยาศาสตร์" สามารถบ่งบอกความจริงสากลที่เกี่ยวข้องกับโลก โดยไม่ละเลยความเป็นปัจเจกภาพของผู้รู้

4. ความรู้เกิดจากวิทยาศาสตร์คือ "ความจริง" และไม่เป็นที่สิ้นสุด

5. ความรู้/ความจริง เกิดโดยวิทยาศาสตร์ (ด้วยการรู้วัตถุประสงค์อย่างมีเหตุ-ผลด้วยตนเอง) จะนำพาไปสู่ความก้าวหน้าและสมบูรณ์ ในทุกสถาบันและในการปฏิบัติของมนุษย์ สามารถวิเคราะห์ได้จากวิทยาศาสตร์ (ของวัตุประสงค์/เหตุผล) และปรับปรุงได้เสมอ

6. เหตุผลคือ ผู้ตัดสินสูงสุดว่าอะไรเป็นความจริง อะไรที่ถูกต้อง และอะไรที่ดี (อะไรที่ถูกกฏหมายและอะไรที่มีคุณธรรม) อิสระภาพประกอบด้วยความเชื่อฟังในกฏเกณฑ์ที่ตรงกันกับความรู้ที่ค้นพบด้วยเหตุผล

7. ในโลกที่ปกครองด้วยเหตุผล ความจริงจะเป็นเช่นเดียวกับความดีและความถูกต้อง (และความงาม) จะไม่ขัดแย้งกันระหว่างอะไรเป็นความจริงกับอะไรเป็นความถูกต้อง (ฯลฯ)

8. วิทยาศาสตร์ เช่นนี้..ถือเป็นกระบวนทัศน์ (paradigm) ที่เป็นประโยชน์สำหรับความรู้ต่างๆของสังคม วิทยาศาสตร์เป็นกลางและเป็นภววิสัย นักวิทยาศาสตร์ผู้ผลิตความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ด้วยความสามารถที่ไม่มีอคติ ต้องมีอิสระในการเจริญรอยตามหลักเกณฑ์ของเหตุผล ไม่ถูกชักจูงด้วยสิ่งอื่น (เช่น เงินหรืออำนาจ)

9. ภาษา หรือวิธีการแสดงออก ใช้ประโยชน์ในการนำเสนอและเผยแพร่ความรู้ ต้องมีเหตุ-ผลด้วย การมีสติในเหตุ-ผลนั้น ภาษาต้องโปร่งใส ใช้ประโยชน์เพื่อแทนโลกที่รับรู้จริงๆด้วยการสังเกตุของจิตใจที่มีสติสัมปชัญญะ ต้องมั่นคงและเป็นภววิสัยเชื่อมวัตถุที่รับรู้กับโลกเข้าด้วยกันด้วยบัญญัติ (ระหว่างสัญลักษณ์และผู้กำหนด)

มีบางหลักฐานที่เป็นบรรทัดฐานของความเป็นมนุษย์ หรือของความทันสมัย- modernism ซึ่งมันช่วยในการบอกกล่าว ตัดสินและอธิบายโครงสร้างสังคมและสถาบันได้อย่างแท้จริง รวมทั้งประชาธิปไตย กฏหมาย วิทยาศาสตร์ จริยศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์

Modernity คือมูลฐานหนึ่งของระเบียบ (order) เกี่ยวกับสติสัมปชัญญะและความมีเหตุ-ผล ระเบียบของการสร้างสรรค์ให้พ้นจากความหายนะ ข้อสันนิษฐานหนึ่งคือว่า การสร้างสรรค์ที่มีเหตุ-ผล จะนำไปสู่การสร้างสรรค์ที่มีระเบียบมากกว่า สร้างสังคมให้มีระเบียบมากกว่า ให้ประโยชน์มากกว่า (มีเหตุ-ผลมากก็จะเป็นประโยชน์มาก) เพราะว่า -modernity จะนำไปสู่การเพิ่มระดับของระเบียบ เป็นสังคมทันสมัย เป็นเกราะป้องกัน "ความไร้ระเบียบ" ที่จะทำลายความเป็นระเบียบ ด้วยเหตุนี้ สังคมทันสมัยจึงขึ้นอยู่กับการสร้างเสริมอย่างต่อเนื่องของสองขั้วระหว่าง "ระเบียบ" และ "ไร้ระเบียบ" เพื่อที่เขาจะรักษา "ระเบียบ" ให้เหนือกว่าอยู่เสมอ แต่การจะกระทำได้ดังนี้ เขาต้องมีสิ่งที่เป็นตัวแทนของความ "ไร้ระเบียบ" สังคมทันสมัยจึงต้องมีการสร้าง/เสริม ความ "ไร้ระเบียบ" ในสังคมตะวันตก ความไร้ระเบียบกลายเป็น "สิ่งอื่น" ที่กำหนดความสัมพันธ์กับสองขั้วตรงข้ามอื่นๆ ฉะนั้น บางสิ่งไม่ขาว ไม่ชาย ไม่แตกต่างทางเพศ ไม่สะอาดบริสุทธิ์ ไม่เป็นเหตุ-ผล (ฯลฯ) กลายเป็นส่วนของความ "ไร้ระเบียบ" และต้องกำจัดออกไปเสียจากสังคมที่มีระเบียบ สำหรับสังคมที่ทันสมัยและมีเหตุ-ผล

วิถีทางต่างๆที่สังคมทันสมัยดำเนินการจำแนกตราประทับ "ระเบียบ" และ "ไร้ระเบียบ" คือจะต้องพยายามรักษาความสมดุลป์ Francois Lyotard (นักทฤษฎีเช่นเดียวกับ Sarup ซึ่งพรรณาในบทความ-postmodernism ของเขา) จัดความสมดุลป์ด้วยความคิดของ "โมกขบริสุทธิ์-รวมยอด-totality" หรือระบบรวมยอด-totalized system (ตรงนี้ควรนึกถึงความคิดของ Derrida's idea of "totality" เช่นเดียวกับ องค์รวมหรือความสัมบูรณ์ของกระบวนระบบ) การรวมยอด และความสมดุลป์ และระเบียบ Lyotard แย้งถึงการคงไว้ในสังคมทันสมัยผ่านขบวนการของ "การบรรยายโวหารที่กว้างขวาง-grand narratives" หรือ "สร้างโวหารที่ครอบงำ-master narratives," ซึ่งเป็นเรื่องของวัฒนธรรมที่บอกเล่าตัวเองถึงการปฏิบัติและความเชื่อ "การบรรยายโวหารที่กว้างขวาง" ในวัฒนธรรมอเมริกัน อาจเป็นเรื่องราวของประชาธิปไตย คือพุทธิปัญญา (อย่างมีเหตุ-ผล) ถือเป็นรูปแบบของรัฐบาล และระบอบประชาธิปไตยจะนำพาความผาสุขให้กับมนุษย์ทั้งมวล ทุกกระบวนระบบของความเชื่อและความคิดฝันมีการบรรยายโวหารที่กว้างขวาง ในทัศนะของ Lyotard ดังตัวอย่างเช่น ลัทธิมาร์ก โวหารที่กว้างขวาง คือความคิดที่ว่าลัทธิทุนนิยมจะพินาศด้วยตัวของมันเอง และสังคมแบบยูโทเปียจะอุบัติขึ้นแทน ท่านอาจคิดถึงโวหารที่กว้างขวางนี้ เป็นดังเช่นทฤษฎียิ่งใหญ่-meta-theory หรือความคิดฝันที่ยิ่งใหญ่-meta-ideology นั่นคือความคิดฝันที่อธิบายสู่ความคิดฝันอีกอันหนึ่ง (ดังเช่นลัทธิมาร์ก) เป็นเรื่องราวที่ถูกบอกกล่าวเพื่ออธิบายกระบวนระบบของความเชื่อที่ยังคงอยู่

Lyotard แย้งว่ารูปการทั้งหมดของสังคมทันสมัย รวมถึงวิทยาศาสตร์อันเป็นรูปแบบสำคัญของความรู้ ขึ้นอยู่กับโวหารที่กว้างขวาง Postmodernism จึงเป็นบทวิจารณ์ของโวหารที่กว้างขวาง ความเอาใจใส่ต่อโวหารทั้งหลายที่ใช้เป็นเหมือนหน้ากากปิดบังความขัดแย้งและความไร้สมดุลป์ ซึ่งฝังติดอยู่ในการจัดการและการปฏิบัติทางสังคม ในอีกนัย คือทุกความพยายามเพื่อสร้างสรรค์ "ระเบียบ" ต้องการสร้างจำนวนที่เท่าๆกันกับความ "ไร้ระเบียบ" อยู่เสมอ แต่โวหารที่กว้างขวางปิดบังการสร้างของการจำแนกเหล่านี้ โดยอธิบายว่า ความ "ไร้ระเบียบ" แท้จริงแล้ว คือหายนะ และความเลว และความมี "ระเบียบ" แท้จริงหรือความมีเหตุ-ผลและความดี Postmodernism ปฏิเสธโวหารที่กว้างขวางนี้ กลับชื่นชม "การบรรยายโวหารเล็กๆ-mini-narratives," คือเป็นเรื่องราวที่อธิบายการปฏิบัติขนาดย่อม เหตุการณ์ระดับท้องถิ่น แทนที่เป็นแนวคิดขนาดใหญ่ชนิดครอบจักรวาลเดิมๆทั้งหลาย Postmodern ในลักษณะของ "การบรรยายโวหารเล็กๆ" เป็นเช่นสถานการณ์ เป็นเช่นการเตรียมการ เป็นเช่นความไม่แน่นอน และเป็นการชั่วคราว เท่านั้น ไม่เรียกร้องความเป็นสากล ความจริง เหตุผล ความมั่นคง หรือเสถียรภาพใดๆเลย

บางรูปการของความคิดทางพุทธิปัญญา-ในเก้าข้อของข้าพเจ้า-คือความคิดเห็นที่ว่าภาษาคือความโปร่งใส คำ ถูกใช้เพื่อแทนความคิดและสรรพสิ่งทางวัตถุทั้งหลายเพื่อประโยชน์เท่านั้น สังคมทันสมัยขึ้นอยู่กับความคิดเห็นที่ผู้กำหนดชี้ไปที่สิ่งที่บัญญัติ และความเป็นจริงอาศัยกันกับสิ่งที่กำหนด ใน (สังคม)- postmodernism มีเพียงผู้กำหนดเท่านั้น ความคิดของเรื่องเสถียรภาพ หรือความจริงถาวรไม่ปรากฏในสิ่งที่กำหนดซึ่งชี้โดยผู้กำหนด สังคมหลังทันสมัยมีเพียงผิวเปลือก ปราศจากความลึก แค่เพียงผู้กำหนด ไม่ใช่สิ่งที่กำหนด

กล่าวอีกนัย ตามทัศนะของ Jean Baudrillard คือ ในสังคมหลังทันสมัย ไม่มีต้นแบบ มีเพียงสำเนา-หรืออะไรที่เขาเรียกว่า "จินตภาพของบางสิ่ง-simulacra" ท่านอาจเปรียบกันได้เช่น ภาพวาด หรือปฏิมากรรม ที่มีงานต้นฉบับ (เช่นงานของ Van Gogh เป็นต้น) ซึ่งอาจมีสำเนาเป็นพันๆ แต่ต้นฉบับมีเพียงหนึ่งที่มีคุณค่าสูง (โดยเฉพาะค่าของเงิน) ซึ่งตรงข้ามสิ้นเชิงกับงานที่ถูกบันทึกด้วยซีดีหรือการบันทึกเพลง ซึ่งไม่มี "ต้นฉบับ" ของมันดังเช่นงานภาพเขียน-ไม่มีการบันทึกไว้แขวนบนผนัง หรือเก็บไว้ในกรุ มีแต่เพียงแค่สำเนาเป็นร้อยๆที่เหมือนกันทั้งหมด และขายในราคา (โดยประมาณ) เดียวๆกัน อีกความหมายของ "simulacrum" Baudrillard หมายถึงแนวคิดของความเหมือนความจริง ความจริงที่เกิดจากการจำลอง ซึ่งไม่มีต้นฉบับ เช่นตามหลักฐานเฉพาะของเกมจำลองทางคอมพิวเตอร์-ในความคิดของ Sim City, Sim Ant ฯลฯ

ท้ายสุด -postmodernism เกี่ยวข้องกับคำถามการจัดการความรู้ ในสังคมทันสมัยที่ว่า ความรู้เทียบเท่าวิทยาศาสตร์ และตรงข้ามกับการบรรยายโวหาร วิทยาศาตร์เป็นความรู้ที่ดี และการบรรยายโวหารเป็นความรู้ที่เลว โบราณ และไม่มีเหตุ-ผล (อันรวมถึง ผู้หญิง เด็กๆ คนพื้นเมือง และคนป่วยทางจิต) อย่างไรก็ตาม ความรู้เป็นสิ่งดีในตัวมันเอง คนได้รับความรู้ผ่านทางการศึกษา เพื่อการเรียนรู้โดยทั่วไป จึงจะกลายเป็นผู้มีความรู้ นี่คือความคิดฝันของการศึกษาศิลปศาสตร์แบบเสรีนิยม ในสังคมหลังทันสมัย ความรู้ถือเป็นประโยชน์-ท่านเรียนสิ่งต่าง โดยอาจไม่รู้ แต่ใช้ประโยชน์มันได้ ตามที่ Sarup ชี้ไว้ (หน้า138) ว่า นโยบายการศึกษาปัจจุบันเน้นทักษะและการฝึกฝน มากกว่าความนึกคิดในแง่การศึกษาความเป็นมนุษย์ทั่วไป จึงมีคำกล่าวถามเฉพาะและรุนแรงในวิชาภาษาอังกฤษที่ว่า " ท่านจะทำอะไรกับปริญญาของท่าน?"

ไม่เพียงแต่ความรู้ในสังคมหลังทันสมัย ที่บ่งคุณลักษณะในประโยชน์ของมันเท่านั้น แต่ความรู้ยังเผยแพร่ เก็บรวมไว้ และแยกแยะความแตกต่างในสังคมหลังทันสมัยมากกว่าในสังคมทันสมัย โดยเฉพาะ การเกิดขึ้นของเท็คโนโลยีคอมพิวเตอร์ ได้ปฏิวัติวิธีการผลิตความรู้ การเผยแพร่ และการบริโภคในสังคมของเรา (จริงทีเดียวที่บางคนแย้งว่า-postmodernism คือการพรรณาที่ดีที่สุด และมีปฏิสัมพันธ์ จากการอุบัติขึ้นของเท็คโนโลยีคอมพิวเตอร์ เริ่มขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1960s ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของชีวิตทุกรูปแบบในสังคม) ในสังคมหลังทันสมัย บางสิ่งไม่สามารถแปลความหมายไปสู่รูปแบบที่แสดงหรือเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์-ดังเช่น บางสิ่งไม่สามารถกำหนดเป็นตัวเลข-ที่กำหนดเป็นความรู้ได้ สำหรับกระบวนทัศน์นี้ สิ่งตรงข้ามของ "ความรู้" ไม่ใช่ "ความโง่เขลา" เหมือนเช่นในกระบวนทัศน์ของความเป็นมนุษย์/ความทันสมัย แต่เป็น "การประกาศโด่งดัง-noise" หรือ บางสิ่งซึ่งเทียบคุณภาพไม่ได้กับชนิดของความรู้ คือ "การประกาศโด่งดัง" เป็นบางอย่างซึ่งรับรองไม่ได้ เช่นเดียวกับบางสิ่งภายในระบบนี้

Lyotard กล่าว (ในสิ่งที่ Sarup ใช้เวลามากในการอธิบาย) ว่า คำถามที่สำคัญของสังคมหลังทันสมัย คือ ใคร?คือผู้ตัดสินว่าอะไรคือความรู้ (และอะไรคือ "การประกาศโด่งดัง-noise") และใคร?รู้ว่าอะไรคือความต้องการที่จะตัดสินว่า การตัดสินใจเกี่ยวกับความรู้นี้จะไม่เกี่ยวข้องกับคุณวุฒิ ของความสัมพันธ์เก่า ของความทันสมัย/ความเป็นมนุษย์ ตัวอย่างเช่น การเข้าถึงความรู้คือความจริง (คุณภาพทางเทคนิคของมัน) หรือความดี หรือความยุติธรรม (คุณภาพทางจริยธรรมของมัน) หรือความงาม (คุณภาพทางสุนทรีย์ของมัน) ทดแทนการโต้แย้งของ Lyotard ในแง่ความรู้ที่ตามกระบวนทัศน์ของเกมทางภาษา ที่เริ่มไว้โดย Wittgenstein ซึ่งข้าพเจ้าจะไม่ลงในรายละเอียดในความคิดของเขาเกี่ยวกับเกมทางภาษา เพราะ Sarup เสนอการอธิบายที่ดีในแนวคิดนี้ไว้ในบทความของเขา ในสิ่งที่ท่านทั้งหลายอาจสนใจ

มีคำถามมากมายที่จะถามเกี่ยวกับ- postmodernism หนึ่งในความสำคัญคือ คำถามที่เกี่ยวกับความเกี่ยวข้องทางการเมือง-หรือง่ายๆ คือกระแสความคิดนำไปสู่ความเปราะบาง การเตรียมการ การปฏิบัติ และความไม่มั่นคงของบางอย่างที่ดี บางอย่างที่เลวของมัน ? ที่มีคำตอบที่หลากหลายเกี่ยวกับคำถามนี้ ในสังคมร่วมสมัยของเราทุกวันนี้ อย่างไรก็ตาม ความปรารถนาที่จะกลับไปสู่ยุคก่อน-หลังทันสมัย (ความทันสมัย/ความเป็นมนุษย์/ความคิดของยุคพุทธิปัญญา) เอนเอียงที่จะร่วมกันกับการเมือง การศาสนา และกับกลุ่มปรัชญาแบบอนุรักษ์นิยม อันที่จริง ข้อตกลงหนึ่งของ-postmodernism ดูเหมือนว่าเกิดจากศาสนาลัทธิต้นแบบ-religious fundamentalism ในรูปแบบการต่อต้าน การตั้งคำถามของ "การบรรยาโวหารกว้างขวาง" ของความจริงทางศาสนา สิ่งนี้บางที่เห็นได้ชัดแจ้ง (สำหรับพวกเราใน US, บางที) ในศาสนามุสลิมลัทธิต้นแบบในประเทศตะวันออกกลาง ซึ่งประกาศห้ามหนังสือของยุคหลังทันสมัย-แบบของ Salman Rushdie's The Satanic Verses --เพราะเขาได้รื้อทิ้งโครงสร้างเช่นการบรรยายโวหารแบบกว้างขวางเดิม

การร่วมกันระหว่างการปฏิเสธ-postmodernism กับลัทธิอนุรักษ์นิยม-conservatism หรือลัทธิต้นแบบ-fundamentalism อาจอธิบายในส่วนที่ทำไม-postmodern ประกาศความเปราะบางและเพิ่มความเอนเอียงไปทางความเสรีและรุนแรงมากขึ้น นั่นคือ ทำไม นักทฤษฎีเพศหญิงสนใจ-postmodernism ดังเช่นที่ Sarup, Flax, และ Butler ทั้งหมดชี้ให้ปรากฏ

ในอีกความเห็น-postmodernism ดูเหมือนเสนอทางเลือกเพื่อเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมบริโภคนิยมของโลก ที่ซึ่งบรรษัทข้ามชาติ และรูปแบบของความรู้ ถูกเสนอให้เป็นพลังขับเคลื่อนที่ไกลกว่าพลังของปัจเจกชนที่จะควบคุมได้ ทางเลือกเหล่านี้ เน้นไปที่ความคิดของทุกการกระทำ (หรือการดิ้นรนทางสังคม) เน้นที่ความจำเป็นระดับท้องถิ่น ข้อจำกัด และการมีส่วนร่วม-แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ด้วยการล้มเลิกการบรรยายโวหารแบบกว้างขวาง (เหมือนความเสรีของชนชั้นแรงงานทุกชนชั้น) และกลับเน้นที่เป้าหมายในระดับท้องถิ่นโดยเฉพาะ (เช่น การปรับปรุงศูนย์ดูแลเด็กอ่อนของมารดาในชุมชนของเรา) การเมืองหลังทันสมัย เสนอวิถีทางทฤษฎีสถานการณ์ท้องถิ่นที่ลื่นไหลและคาดเดาไม่ได้ ผ่านการสนับสนุนแนวสากลทั่วโลก ด้วยเหตุนี้ คำขวัญสำหรับนักการเมืองหลังทันสมัยอาจเป็นว่า "คิดแบบสากล แต่กระทำแบบท้องถิ่น-think globally, act locally"--และไม่ควรกังวลกับโครงการใหญ่หรือแผนแม่บทใดๆเลย


(เรียบเรียงจาก...http://www.colorado.edu/English/ENGL2012Klages/pomo.html)